วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ภาพพระแม่มารีเบนัวส์


ภาพพระแม่มารีเบนัวส์

Benois Madonna



    พระแม่มารีเบนัวส์ หรือ พระแม่มารีและพระบุตรกับดอกไม้ (อังกฤษ: Benois Madonna หรือ Madonna and Child with Flowers) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี[1] จิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, สหพันธรัฐรัสเซีย

  “พระแม่มารีเบนัวส์” อาจจะเป็นหนึ่งในงานเขียนพระแม่มารีที่เลโอนาร์โดกล่าวถึงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1478 อีกภาพหนึ่งอาจจะเป็นภาพ “พระแม่มารีกับดอกคาร์เนชั่น” ที่หอศิลป์เก่าที่มิวนิค

   อาจจะเป็นไปได้ว่า “พระแม่มารีเบนัวส์” เป็นงานเขียนชิ้นแรกที่เขียนหลังจากที่เป็นอิสระจากอันดรีย เดล เวอร์โรชชิโอ งานร่างสองชิ้นของภาพนี้เป็นของพิพิธภัณฑ์บริติช รอยยิ้มที่ไม่เผยอริมฝีปากทำให้น่าสันนิษฐานกันได้ว่าเป็นงานเขียนที่ยังไม่เสร็จเช่นภาพเขียนอื่นๆ ของเลโอนาร์โด

   องค์ประกอบของภาพ “พระแม่มารีเบนัวส์” เป็นองค์ประกอบที่เป็นที่นิยมที่สุดอันหนึ่งของเลโอนาร์โดที่จิตรกรคนอื่นเลียนแบบกันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งราฟาเอลที่เขียนภาพที่คล้ายคลึงกันชื่อ “พระแม่มารีสีชมพู”

  ภาพ “พระแม่มารีเบนัวส์” หายไปอยู่หลายร้อยปี จนในปีค.ศ. 1909 เมื่อสถาปนิกลิออง เบนัวส์ (Leon Benois) นำไปแสดงเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมของพ่อตาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภาพเขียนถูกนำจากอิตาลีไปรัสเซียโดยอเล็กซานเดอร์ คอร์ซาคอฟ ในคริสต์ทศวรรษ 1790 เมื่อคอร์ซาคอฟเสียชีวิต ลูกชายก็ขายให้กับพ่อค้าอัสตราคาน (Astrakhan) เป็นจำนวน 1400 รูเบิลส์และในที่สุดก็ผ่านมาเป็นของครอบครัวเบนัวส์ในปี ค.ศ. 1880 หลังจากถกเถียงกันเรื่องใครเป็นผู้เขียนที่แท้จริงอยู่เป็นนานลิอองก็ขายภาพในกับพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจในปี ค.ศ. 1914 ตั้งแต่นั้นมาภาพเขียนก็ตั้งแสดงอยู่ที่นั่น





อ้างอิง: ภาพ   http://www.bloggang.com/data/v/vinitsiri/picture/1273689453.jpg
            ข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/พระแม่มารีเบนัวส์

ภาพพระเยซูรับศีลจุ่ม


ภาพพระเยซูรับศีลจุ่ม

The Baptism of Christ


  พระเยซูรับศีลจุ่ม (อังกฤษ: The Baptism of Christ) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยอันดรีย เดล เวอร์โรชชิโอและห้องเขียนภาพ เวอร์โรชชิโอเป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ภาพเขียนปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี

  เวอร์โรชชิโอเขียนภาพ “พระเยซูรับศีลจุ่ม” เสร็จราวปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพที่ได้รับจ้างโดยวัดซานซาลวิในฟลอเรนซ์ และตั้งอยู่ที่วัดจนปี ค.ศ. 1530 เป็นภาพที่เขียนในห้องเขียนภาพของอันดรีย เดล เวอร์โรชชิโอที่เห็นลักษณะการเขียนได้จากพระวรกายของพระเยซูและนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ ชื่อเสียงของภาพอยู่ที่ผู้ช่วยเวอร์โรชชิโอเขียนภาพ เทวดาผมสีทองทางด้านซ้ายเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชี[1] ผู้ที่ทำงานอยู่กับเวอร์โรชชิโอราวปี ค.ศ. 1470 นักวิจารณ์ศิลปะบางคนกล่าวว่าเทวดาองค์ที่สองวาดโดยจิตรกรฟลอเรนซ์ซานโดร บอตติเชลลี

  ภาพเขียนแสดงภาพของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์เทน้ำบนพระเศียรพระเยซูในการทำพิธีศีลจุ่ม ด้านบนสุดของภาพเป็นภาพมือของพระเจ้ายื่นลงมาและพระจิตที่กางปีกเหนือพระเศียรพระเยซูและรัศมีกางเขนที่แสดงว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้าและส่วนหนึ่งของตรีเอกานุภาพ เทวดาสององค์ริมแม่น้ำถือฉลองพระองค์ของพระเยซู การวางรูปโดยทั่วไปว่าสร้างโดยเวอร์โรชชิโอผู้เป็นครูและเจ้าของห้องเขียนภาพ และถือว่าเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของเวอร์โรชชิโอ





อ้างอิง: ภาพ http://www.bloggang.com/data/vinitsiri/picture/1273688011.jpg
            ข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง_(แวร์รอกกีโอ)

ภาพพระแม่มารีแห่งภูผา

  

พระแม่มารีแห่งภูผา 

Virgin of the Rocks


  ในยุคกลาง ศิลปกรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์โดยเฉพาะ ทำให้ศิลปิน ไม่สามารถถ่ายทอดจินตนาการออกมาอย่างเสรีได้ ผลงานส่วนใหญ่จึงขาดชีวิตชีวา แต่ศิลปกรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้น ศิลปินนิยมใช้รูปแบบงานศิลปะของทางกรีก-โรมันซึ่งมีความเป็นธรรมชาติ  และความสวยงามในร่างกายของมนุษย์ มิติของภาพ สีสัน และแสงเงาในงานประติมากรรมล้วนทำให้มีความสมจริง

   หากกล่าวถึงงานศิลปินผู้ที่สร้างศิลปะออกมาได้อย่างสวยงาม หลายๆคนคงต้องนึกถึงชื่อของ เลโอนาร์โด ดา วินชี มาเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นศิลปินผู้โด่งดังไปทั่วโลก เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย ทั้ง สถาปนิก นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ ผลงานที่โด่งดังของเขาที่เป็นที่รู้จักกันโดยแพร่หลายก็คือ "พระกระยาหารมื้อสุดท้าย" และ "โมนา ลิซ่า" ผลงานทุกชิ้นของ ดา วินชี จึงเป็นงานที่มีความสำคัญในทางศิลปะและ มีอิทธิพลต่อจิตรกรท่านอื่นๆอีกทั้งยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น

  แน่นอนว่างานศิลปะของศิลปินผู้นี้ย่อมมีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง และหนึ่งในงานศิลปะที่สวยงามของ ดา วินชี อีกชิ้นหนึ่งนั่นก็คือผลงานที่ชื่อว่า "พระแม่มารีแห่งภูผา" ซึ่งเป็นผลงาน ที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก

  พระแม่มารีแห่งภูผา หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Virgin of the Rocks เป็นภาพเขียนสีน้ำมันจำนวนสองภาพ ที่มีลักษณะการวางองค์ประกอบของภาพที่เหมือนกัน ถูกวาดขึ้นโดย  เลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรคนสำคัญสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี เขาได้วาดภาพนี้ผ่านเทคนิคชั้นสุดยอดโดยใช้แสงเงา ควัน และการใช้อิริยาบถของตัวละครในภาพในการเลาเรื่องราว ซึ่งภาพนี้ซ่อนอะไรไว้นั้นก็ไม่มีใครสามารถตอบได้

   เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้วาดภาพนี้ขึ้นมาสองภาพโดยภาพแรกนั้นจัดตั้งแสดงอยู่ภาพในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ส่วนอีกภาพจัดแสดงอยู่ภาพในหอศิลป์แห่งชาติ,ลอนดอน สองภาพนี้มีความต่างกันเพียงจุดเล็กๆน้อยๆเท่านั้น โดยภาพแรกนั้นถูกจ้างให้วาดขึ้นมาโดยบุคคลท่านหนึ่งเพื่อจะนำไปติดที่โบสถ์แห่งเมืองมิลานขนาดและรูปแบบถูกกำหนดโดยผู้ว่าจ้างแต่เมื่อวาดเสร็จแล้วผู้ว่าจ้างกลับไม่พอใจในรายละเอียดบางอย่าง ซึ่งเป็นจุดที่ขัดตาของชาวคาธอลิคเป็นอย่างมาก ทางโบสถ์จึงขอให้วาดขึ้นมาใหม่โดยที่จะออกค่าใช้จ่ายให้เองภาพที่สองจึงถูกเก็บรักษาไว้ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน

  ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการชาวยุโรปยังคงศรัทธาในพระเจ้า แต่ค่านิยมในสมัยนั้นทำให้ชาวยุโรปมีแนวคิดในความต้องการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้นและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อความสุขสบายและความมั่นคงให้กับตัวเอง เหล่านี้จึงถูกรังสรรค์ออกมาผ่านทางศิลปะในแขนงต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของของตนเองเท่านั้น











อ้างอิง: ภาพ http://1.bp.blogspot.com/
          ข้อมูล http://worldcivil14.blogspot.com/2014/03/virgin-of-rocks.html

ภาพพระกระยาหารมื้ออาหาร


ภาพพระกระยาหารมื้ออาหาร
The Last Supper
        พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ในภาษาอังกฤษ และ Il cenacolo หรือ L'ultima cena ในภาษาอิตาลี เป็นจิตกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ให้แก่ผู้อุปถัมภ์ดยุค โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) เป็นภาพที่มาจากพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซู ก่อนที่พระองค์จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขนซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากถูกวาดด้วยปูนเปียกบนผนัง ภาพวาดนี้ยังถือว่าเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก
     ภาพวาดนี้ยังเป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องราวของนวนิยายชื่อดังของโลก รหัสลับดาวินชี ที่มีเนื้อหาระบุว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้แฝงปริศนาความลับไว้ในภาพโดยแสดงถึงสาวกหญิงใกล้ชิดผู้หนึ่งซึ่งมีสัมพันธ์กับพระเยซู ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากศาสนาจักรคาทอลิกอย่างรุนแรง

คำอธิบายภาพ    

   ภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพที่บรรยายให้เห็นถึงปฏิกิริยาของแต่ละอัครสาวก ในช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง คือเมื่อพระเยซูได้ทำนายว่า หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์ โดยชื่อของอัครสาวกถูกระบุจาก ต้นฉบับ (The Notebooks of Leonardo Da Vinci หน้า 232) ในศตวรรษที่ 19 โดยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ (เรียงลำดับจากหน้าไม่ใช่การนั่ง)
  • บาร์โทโลมิว, เจมส์ ลูกของอัลเฟียส และ แอนดูรว์ ทั้งกลุ่มแสดงอาการตกใจ
  • จูดาส์ อิสคาริออท, ปีเตอร์ และ จอห์น จูดาส์ใส่ชุดสีเขียวและสีน้ำเงินผงะถอยหลังเมื่อแผนถูกเปิดโปงอย่างกระทันหัน ปีเตอร์มีท่าทางโกรธและในมือขวาถือมีดชี้ออกจากพระเยซู และอัครสาวกที่อายุน้อยที่สุด จอห์นดูเหมือนจะเป็นลม
  • พระเยซู
  • ทอมัส, นักบุญเจมส์ใหญ่ และ ฟิลลิป ทอมัสแสดงท่าทางหงุดหงิด เจมส์ดูตะลึงพร้อมยกมือขึ้นกลางอากาศ ส่วนฟิลลิปดูเหมือนกำลังขอคำอธิบาย
  • มัทธิว, จุด แทดเดียส และ ไซมอนซีลลอท ทั้งมัทธิว และจูด แทดเดียส หันไปคุยกับไซมอน

ยังมีภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ถูกเลียนแบบขึ้นในที่ต่างๆ ได้แก่
  • Chiesa Minorita ที่ เวียนนา
  • พิพิธภัณฑ์ ดา วินชี ในโบสถ์ Tongerlo ของเบลเยียม
  • โบสถ์ท้องถิ่นที่ Ponte Capriasca ใกล้ๆ ลูกาโน

ปริศนาเกี่ยวกับภาพพระกระยาหารมื้อสุดท้าย

      พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย(The Last Supper) หมายถึงอาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูทรงประทานแก่สานุศิษย์ 12 องค์ หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์คือ ยูดาส โดยยูดาสสมคบกับผู้นำของชาวยิวและเสนอตัวจะช่วยจับพระเยซูเจ้า ยูดาสรู้ว่าหลังอาหารค่ำพระเยซูเจ้าจะออกไปภาวนาที่เชิงเขาใกล้ ๆ กรุงเยรูซาเล็ม ที่นั่นเป็นสวนมะกอก มีชื่อว่า "เกสเซมานี"พระองค์จะไปภาวนาที่นั่น จากคำบอกนี้ พวกสมณะชั้นสูง(ฟารีสี และคัมภีราจารย์)จึงเตรียมการเพื่อเข้าจับกุมพระเยซูเจ้าและนำตัวพระองค์ตรึงกางเขนบนยอดเขากัลป์วาลีโอ 

โดยการนอกจากนั้นพระองค์ทรงตรัสแก่เรื่องราวบนโต๊ะอาหารค่ำครั้งสุดท้ายนั้นภายหลังสานุศิษย์ได้เผยแพร่กันผ่านทางพระวารสาร และจดหมายต่าง ๆ เรื่องราวที่ได้รับการกล่าวถึงมาและบ่อยน่าจะเป็นการที่นักบุญ เปโตร บอกว่า “พระเยซูครับ ผมพร้อมจะติดคุกกับพระองค์ ผมพร้อมจะตายกับพระองค์” แต่พระเยซูตรัสกับนักบุญเปรโตร ว่า “เปรโตร วันนี้ก่อนไก่ขัน ท่านจะปฏิเสธเรา 3 ครั้ง” และต่อมาก็เป็นจริงตามที่พระองค์ทรงตรัส และที่สำคัญที่สุดและถือเป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวคาทอลิกที่เรียกว่าพิธี มิซา คือการที่พระองค์ทรงหยิบขนมปังบิออกแล้วยื่นให้สานุศิษย์ตรัสว่า “รับเอาปังนี้ไปกินให้ทั่วกันนี่เป็นกายของเราที่จะมอบเพื่อท่าน” 

และทรงหยิบถ้วยเหล้าองุ่นทรงยื่นให้สานุศิษย์ตรัสว่า “นี่คือโลหิตของเรา โลหิตแห่งพันธะสัญญาใหม่อันยืนยง โลหิตซึ่งจะหลั่งออกเพื่ออภัยบาปแดพวกท่านทั้งหลายจงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิดซึ่งนักบุญทั้ง 12 องค์

ที่ร่วมโต๊ะอาหารมื้อสุดท้ายกับพระเยซูประกอบไปด้วย 

1.นักบุญเปโตร 2.นักบุญอันดูรว์(น้องชายเปโตร) 3.นักบุญยากอบ หรือยาโกเบ (เป็นพี่ชายของยอห์น) 4. นักบุญยอห์น 

5.นักบุญฟิลิป 6.นักบุญบาร์โทโลมิว 7.นักบุญโธมัส(ซึ่งภายหลังพระเยซูทรงพื้นคืนชีพ ทรงยื่นมือที่มีรอยตระปูให้นักบุญโธมัสเอานิ้วแยงในรอยตระปู เนื่องจากครั้งแรกนักบุญโธมัสไม่เชื่อว่าพระเยซูจะกับคืนชีพ) 

8.นักบุญมัธทิว 9. นักบุญ ยากอบ (บุตรของอัลเฟอัส) 10. ยูดา(ซึ่งทรยศพระเยซู) 11.นักบุญซีมอน12. นักบุญ มัสธีอัส (แทนยูดาส) 

นักบุญซึ่งภายหลังพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ได้ถูกถ่ายทอดด้วยภาพที่มีชื่อเสียงจากภาพของ เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี หากเปรียบกับบ้านเราเวลานี้ก็คงประมาณได้กับ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ประมาณนั้น เลโอนาร์โดได้วาดภาพด้วยฝาผนังพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย มอบให้แก่ผู้มีบุญคุณของเขา นั่นคือ ดยุค โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) และเป็นภาพที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกลีโอนาร์โด ดาวินชี่เป็นบุตรนอกสมรสของพีโดร ดาวินชี่ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1452 ในเมืองดาวินชี่(Vinci) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ ๆ กับ ฟลอเรนซ์(Florence) 



ความลับของภาพอาหารมื้อสุดท้าย

                คืนที่พระองค์(พระเยซู) ถูกทรยศหลังอาหารมื้อสุดท้ายนั้น แท้ที่จริงแล้วในคัมภีร์ไบเบิ้ลไม่ได้ระบุเลยสักนิดว่า ผู้ร่วมรับประทานมื้อสุดท้ายนั้นมีใครบ้าง ใครนั่งตรงไหน ไม่บอกเลยสักนิด
                จนกระทั้งหน้าที่(หรือเวรกรรม) ตกเป็นของ ลีโอนาร์โด ดา วินซี จิตรกรยุคเรอนาสเซอนั่งเทียนเขียนภาพ The Last Supper ขึ้น โดยระบุใครนั่งตรงไหนด้วย จากซ้ายไปขวา(ดูรูปภาพประกอบ)

อ้างอิง:ภาพ http://www.soulsofdistortion.nl/images/last_supper.jpg
        ข้อมูล http://guru.sanook.com/7163/พระกระยาหารมื้อสุดท้าย-%26/
                  http://th.wikipedia.org/wiki/พระกระยาหารมื้อสุดท้าย_(เลโอนาร์โด)
                  http://writer.dek-d.com/twinsprince/story/viewlongc.php?id=635803&chapter=23



ภาพโมนาลิซา

     

ภาพโมนาลิซา

 Mona Lisa


    โมนาลิซา (อังกฤษ: Mona Lisa) หรือ ลาโจกอนดา (อิตาลี: La Gioconda) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศส: La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่มีชื่อเสียงทั่วโลกภาพหนึ่ง เป็นที่รู้จักในฐานะภาพของสุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส


ที่มาของชื่อ

    คำว่า "โมนาลิซา" นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดยจอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)
    คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ "มาดาม ลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)

ประวัติ

    ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2046 ถึง พ.ศ. 2050 ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด
ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า ในราคา 4,000 เอกือ

ในปี ค.ศ. 1519 (พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 67 ปี


รูปใบหน้าของมาดามลิซา

     ตอนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย
    และต่อมาภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม


ห้องแสดงในพิพิธภัณฑ์

    ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2413 - 2414 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส
   เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนา ลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด

ทฤษฎีสมทบ

     กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ดา วินซี ตั้งใจจะวาดภาพของตนเองเพื่อเป็นหญิง และภาพวาดชิ้นนี้เมื่อส่องกับกระจกเงา จะพบว่ามุมการมองภาพรู้สึกเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างจากการมองแบบปกติ เหมือนที่ ดา วินชี กล่าวไว้ว่า "ภาพเขียนที่จิตรกรจะคิดว่าสวยงามในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ มุมมอง ต้องพิจารณาภาพภาพในกระจกเงา" และจากการฉายรังสีที่ภาพวาด ทำให้พบว่าภาพเขียนนี้ถูกซ่อนเจตนาที่แท้จริงหลายอย่าง และยังเคยถูกเขียนทับอีกด้วย




อ้างอิง: ภาพ http://4.bp.blogspot.com/
            ข้อมูล th.wikipedia.org/wiki/โมนาลิซา